ประวัติการผสมเทียมโค

ประวัติการผสมเทียมโค

-  พ.ศ.1865 ผสมเทียมม้า (อาหรับ)
  -  พ.ศ.2323 ผสมเทียมสุนัข(อิตาลี)
 -  พ.ศ. 2473 ผสมเทียมในโคและแกะ(รัสเซีย)   
 -  พ.ศ. 2492 ซี โพล และคณะ ชาวอังกฤษ ได้ทำการแช่ แข็งน้ำเชื้อได้สำเร็จ 
        โดยเก็บน้ำเชื้อในน้ำแข็งแห้ง อุณหภูมิ -79 องศาเซลเซียส
  -  พ.ศ. 2495 เติมกลีเซอรอล ลงในสารเจือจางน้ำเชื้อ
จะช่วยให้อสุจิรอดชีวิตจากการเก็บที่อุณหภูมิ -196  องศาเซลเซียส 
          ซึ่งเป็นจุดเริ่มในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง
ประวัติการผสมเทียมในประเทศไทย

          - พ.ศ.2496 ศาสตราจารย์นีลล์ ลาเกอร์ลอฟ ชาวสวีเดน ผู้เชี่ยวชาญจากเอฟ.เอ.โอ. 
ได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย โดยทุนของ เอฟ.เอ.โอ.
 จากนั้นได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเพื่อทูลเกล้าฯ 
ถวายโครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียม

          - พ.ศ. 2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งข้าราชการ ไปศึกษาอบรมนานาชาติ ณ 
ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดน ได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมวิชาการสืบพันธุ์ 
รวมทั้งการผสมเทียมขึ้นเป็นรุ่นแรก

          - พ.ศ. 2499 กรมปศุสัตว์ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ 
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้ผสมเทียมให้แม่โคตัวแรก


          - พ.ศ. 2501 สถานีผสมเทียมแห่งที่สองได้ตั้งขึ้นที่หน่วยผสมเทียมกลาง
ในกรมปศุสัตว์ ได้พัฒนาและปรับปรุงพื้นฐานการเลี้ยงโคนมและการผสมเทียม
ในกรุงเทพมหานคร จนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง



ข้อดี

          - ปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
          - ลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย ในการจัดการเลี้ยงพ่อพันธุ์
          - ลดความเสี่ยงต่อการติดโรค
          - ปลอดภัย(พ่อพันธุ์ดุ)
          - สะดวกในการเลือกใช้

ข้อเสีย/ข้อควรระวัง

          1. มาตรฐานน้ำเชื้อ/เทคนิคการผสม
          2. โรคติดต่อ
          3. ลักษณะด้อยที่แฝงอยู่ของพ่อพันธุ์
          4. ความชำนาญในการล้วงตรวจท้อง

การผสมเทียม

          - กายวิภาคศาสตร์
          - การจับสัด/กำหนดเวลาผสม
          - การเตรียมแม่โค
          - การเตรียมอุปกรณ์/เตรียมน้ำเชื้อ
         - การสอดท่อและปล่อยน้ำเชื้อ
          - การตรวจการตั้งท้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น